การทราบอัตราค่านายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจทางธุรกิจหรือการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แต่ค่านายหน้าในเรื่องนี้มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะหรือไม่?
ที่จริงแล้ว อัตราค่านายหน้านั้นกฎหมายกำหนดไว้แตกต่างกันไปตามแต่ละสถานการณ์
ถ้าคุณอยากรู้ มาฟังคลิปนี้กันค่ะ
แม้ว่าหน้าที่ของนายหน้าจะบรรลุผลสําเร็จแล้ว แต่มิใช่ว่าทุกกรณีจะต้องมีการจ่ายค่าบําเหน็จหรือค่า นายหน้า โดยสิทธิในการที่จะได้รับค่าบําเหน็จหรือค่านายหน้านั้น สามารถจําแนกได้ออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
กรณีมีการตกลงกันระหว่างผู้ขายและนายหน้าอย่างชัดแจ้งว่าต้องมีการจ่ายค่าบําเหน็จหรือค่านายหน้า
กรณีมิได้มีการตกลงกันระหว่างผู้ขายและนายหน้าอย่างชัดแจ้งว่าต้องมีการจ่ายค่าบําเหน็จหรือค่า นายหน้า แต่เป็นการตกลงกันโดยปริยายว่าต้องมีการจ่ายค่าบําเหน็จหรือค่านายหน้า กล่าวคือ มีการกระทําที่ สันนิษฐานได้ว่ากระทําไปเพื่อบําเหน็จหรือค่านายหน้า
ทั้งนี้ หากมีการตกลงกันว่าจะไม่รับบําเหน็จหรือค่านายหน้า นายหน้าจะไม่มีสิทธิเรียกร้องได้รับบําเหน็จ หรือค่านายหน้าภายหลังได้
จํานวนอัตราค่านายหน้า สามารถจําแนกได้ 2 กรณี ได้แก่
กรณีที่มีการตกลงอย่างชัดแจ้งไว้ว่าจํานวนอัตราค่านายหน้าเป็นจํานวนเท่าใดให้เป็นไปตามที่ตกลงระหว่างกัน โดยอาจคิดเป็นจํานวนตัวเลขที่แน่นอน หรือร้อยละของราคาขายนั้น ๆ
กรณีที่มิได้มีการระบุจํานวนบําเหน็จหรือค่านายหน้าไว้เป็นจํานวนเท่าใด กฎหมายกําหนดให้ถือตาม “ธรรมเนียมที่เคยให้กันในกิจการนั้น” และรวมไปถึง “กรณีที่ไม่รู้ว่าตกลงกันไว้เท่าไหร่” กล่าวคือต่างฝ่ายต่างบอก ว่ามีการตกลงเรื่องจํานวนค่านายหน้าไว้ แต่ไม่ตรงกัน และ“ไม่มีฝ่ายไหนพิสูจน์ได้” ชัดเจนว่าตกลงกันไว้เท่าไหร่ แบบนี้กฎหมายให้ถือเอาตาม “อัตราธรรมเนียม” เช่นเดียวกัน (ฎ.3581/2526)
“อัตราค่าธรรมเนียม” สามารถแยกพิจารณาได้ 3 กรณี ได้แก่
นายหน้าและบุคคลที่แต่งตั้งนายหน้าเคยมีการตกลงเป็นนายหน้ากันมาก่อน ต้องถือเอาตามอัตราที่ เคยได้ตกลงกันในครั้งก่อน
หากนายหน้าและบุคคลที่แต่งตั้งนายหน้าไม่เคยมีการตกลงเป็นนายหน้ากันมาก่อน และมิได้กําหนด อัตราค่านายหน้าเอาไว้ เช่นนี้จะเป็นไปตามธรรมเนียมของพื้นที่ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ว่าปกติมีการคิดค่า บําเหน็จหรือค่านายหน้าจํานวนเท่าใด อาทิ ร้อยละ 3 ของราคาขาย หรือร้อยละ 5 ของราคาขาย
หากเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏอัตราธรรมเนียมในพื้นที่นั้น ๆ ว่าปกติมีการคิดในอัตราเท่าใด เช่นนี้กฎหมาย ให้เป็นเป็นไปตามดุลพินิจของศาล กล่าวคือ ศาลมีอํานาจกําหนดให้ได้ตามจํานวนที่ศาลเห็นว่าเหมาะสมและ สมควร
การคํานวณอัตราค่านายหน้า
เมื่อทราบอัตราค่านายหน้าแล้ว อาทิ อัตราร้อยละ 3 หรือร้อยละ 5 โดยคํานวณจากราคาอะไรนั้น กฎหมายมิได้มีกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ เป็นการเปิดช่องให้คู่สัญญา (บุคคลที่แต่งตั้งนายหน้ากับนายหน้า) สามารถ ตกลงร่วมกันได้อาจคํานวณจาก“ราคาที่เสนอขาย”กล่าวคือเป็นราคาที่ผู้ขายเสนอขายไว้ในตอนแรกซึ่งอาจจะ สูงหรือต่ำกว่าราคาที่มีการขายตามความเป็นจริงได้หรือคํานวณจาก“ราคาที่ได้ขายตามความเป็นจริง”ก็สามารถ ทําได้เช่นเดียวกัน และเมื่อตกลงกันไว้อย่างไร คู่สัญญาย่อมผูกพันตนในอันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้แก่ กัน
ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่ต่างฝ่ายต่างไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเดิมมีการตกลงกันไว้อย่างไร เช่นนี้ ศาลมักจะ กําหนดให้คํานวณจาก “ราคาที่ขายได้ตามความเป็นจริง” ไม่ใช่ “ราคาที่เสนอขาย” เนื่องมาจากเป็นธรรมเนียม ตามปกติทอี่้างอิงจาก“ราคาที่ขายไดต้ามความเป็นจริง”