top of page

BLOG

LIBOTHAI

ค่านายหน้าต้องจ่ายตอนไหน

อัปเดตเมื่อ 27 ก.พ.

เคยสงสัยไหมว่า "ค่านายหน้า" ที่เราพูดถึงบ่อยๆ นั้น จริงๆ แล้วกฎหมายได้กำหนดไว้หรือเปล่าว่าจะต้อง “จ่ายตอนไหน”?


ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายบ้าน, ที่ดิน, หรือการลงทุน การทำความเข้าใจเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับค่านายหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม


คลิปนี้จะพาคุณไปค้นหาคำตอบพร้อมทั้งแนะนำข้อกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คุณเข้าใจถึงสิทธิ์และหน้าที่ของตัวเองไม่ว่าจะในฐานะผู้ซื้อ ผู้ขาย รวมถึงนายหน้า



คุณเคยสงสัยไหมว่าการทำธุรกรรมหรือการดำเนินงานที่คุณกำลังทำอยู่นั้นคุณคือตัวแทนหรือนายหน้า? มันเป็นคำถามที่หลายคนมักจะมองข้าม แต่การเข้าใจถูกต้องระหว่าง "ตัวแทน" กับ "นายหน้า" นั้นสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมีผลต่อสิทธิ์และหน้าที่ตามกฎหมายของคุณ


ในบทความนี้ เรา LIBOTHAI Academy จึงมาชี้ให้คุณเห็นลักษณะความแตกต่างระหว่าง “ตัวแทน” และ “นายหน้า” แบบเข้าใจง่ายๆ 


1. ผู้ลงลายมือชื่อในสัญญา 


ตัวแทน คือ บุคคลที่มีอํานาจในการกระทําการแทนตัวการ รวมถึงมีอํานาจลงลายมือชื่อเอกสารทาง กฎหมายต่าง ๆ และเข้าทําสัญญากับบุคคลภายนอกได้ โดยถือเสมือนว่าเป็นการกระทําของตัวการเอง ส่งผลให้ ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนได้กระทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐาน ตัวแทน 


อาทิ กรณีการมอบอํานาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า “ตัวการ” มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ตัวแทน” มีอํานาจทําการแทน และการกระทํานั้นมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าตัวการทําด้วยตนเองนั่นเอง 


นายหน้า คือบุคคลที่ทําหน้าที่ชี้ช่องให้คู่สัญญาได้เข้าทําสัญญา หรือจัดการให้ได้ทําสัญญากัน กฎหมาย ไม่ได้ให้สิทธินายหน้าในการทําสัญญาแทนตัวการหรือลงลายมือชื่อในสัญญาแทนตัวการได้ 



2. การตกลงทําสัญญานายหน้าไม่จําต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแค่ตกลงกันด้วยวาจาก็สามารถ มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายได้ 


ตัวแทน การตกลงแต่งตั้งตัวแทนนั้น ในความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนและบุคคลภายนอกกฎหมายกําหนด รูปแบบไว้ 2 กรณี ได้แก่ 

  1. หากกิจการที่ตัวการให้ตัวแทนไปกระทําการแทนนั้น กฎหมายมิได้มีการกําหนดว่าต้องมีหลักฐานเป็น หนังสือ อาทิ การซื้อขายของเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้การแต่งตั้งตัวแทนก็ไม่จําต้องมีหลักฐานเป็นลาย ลักษณ์อักษรต่อกัน 

  2. หากกิจการที่ตัวการให้ตัวแทนไปกระทําการแทนนั้นมีกฎหมายกําหนดว่าต้องทําเป็นหนังสือ อาทิ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกฎหมายกําหนดว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่นนี้การตั้งตัวแทนก็ จะต้องทําเป็นหนังสือเช่นเดียวกัน 


รูปแบบข้างต้น บังคับใช้เฉพากรณีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนและบุคคลภายนอก แต่หากเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการ (ผู้มอบอํานาจ) และตัวแทน สามารถบังคบั ระหว่างกันได้ 


นายหน้า การแต่งตั้งนายหน้า กฎหมายมิได้กําหนดแบบหรือหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งไว้ ไว้เป็นการเฉพาะ การแต่งตั้งนายหน้านั้นก็ไม่จําเป็นต้องทําเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด เพียงแค่ตกลงกันด้วย วาจาก็สามารถเกิดเป็นสัญญานายหน้าได้ 

การที่มีการจดัทําสัญญานายหน้าและลงลายชื่อต่อกันเพียงเพื่อให้เกิดหลักฐานที่มีความชัดเจนขึ้นเท่านั้น แม้จะมิได้มีการลงลายมือชื่อในสัญญา แต่เมื่อนายหน้าได้ชี้ช่องทางหรือการจัดการให้บุคคลคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ตัวการได้เข้าทําสัญญากับบุคคลภายนอกจนสําเร็จ นายหน้าย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่านายหน้าได้ 



3. การรับเงิน 


ตัวแทน ตามที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า ตัวแทนเป็นบุคคลที่มีอํานาจทําการแทนตัวการ ฉะนั้น เมื่อหากตัวการ มอบอํานาจที่จะรับเงิน ตัวแทนย่อมมีอํานาจที่จะรับเงินแทนตัวการผู้มอบอํานาจได้ ซึ่งอาจมีการตกลงเรื่องนี้กันมา ก่อนหรือไม่ก็ได้ 


นายหน้า เมื่อนายหน้าเป็นบุคคลที่ชี้ช่องทางหรือการจัดการให้บุคคลคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าตัวการได้ทําสัญญา กับบุคคลภายนอก กฎหมายมิได้กําหนดให้นายหน้ามีหน้าที่อื่นนอกเหนือจากส่วนนี้ เพราะฉะนั้น ในการรับเงิน แทนตัวการ นายหน้าหามีสิทธิที่จะรับเงินแทนตัวการได้ไม่ เว้นแต่จะมีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น 


4. สิทธิในการได้รับบําเหน็จ 


ตัวแทน โดยหลักกฎหมายมิได้กําหนดให้ตัวแทนมีสิทธิในการได้รับบําเหน็จกฎหมายจะมองว่า ตัวแทนไม่ มีสิทธิ์ได้รับบําเหน็จหรือเงินตอบแทนการทํางาน เว้นแต่ว่าตัวการผู้มอบอํานาจได้ตกลงกับตัวแทน หรือมีธรรม เนียมปฏิบัติในพื้นที่นั้น ๆ เช่นนี้การแต่งตั้งตัวแทนก็จะต้องมีการจ่ายบําเหน็จหรือเงินตอบแทนการทํางานด้วย 


นายหน้า ค่าบําเหน็จของนายหน้าหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ค่านายหน้า หากมีพฤติการณ์ที่สันนิษฐานได้ ว่ากระทําไปเพื่อบําเหน็จหรือค่านายหน้า กฎหมายถือได้ว่ามีการตกลงว่าต้องมีการจ่ายบําเหน็จหรือค่านายหน้า แล้ว แต่ถ้าหากมีการตกลงอย่างชัดแจ้งว่าตนไม่รับบําเหน็จหรือค่านายหน้า เช่นนี้ นายหน้าจะเรียกร้องเอาค่า บําเหน็จหรือค่านายหน้าภายหลังมิได้ 


เรา LIBOTHAI Academy หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง "ตัวแทน" กับ "นายหน้า" ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเข้าใจถึงสิทธิ์และหน้าที่ของคุณในแต่ละบทบาทที่คุณอาจมีในธุรกรรมหรือการดำเนินงานที่คุณเกี่ยวข้อง

bottom of page